บทที่  4

ผลของการศึกษา

               
       การศึกษาครั้งนี้ผู้ทำการศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลการทดลองใช้ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี จากผู้เชี่ยวชาญ และจากกลุ่มตัวอย่าง  โดยแบ่งออกได้ดังนี้
4.1  การวิเคราะห์หาคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติ
4.2  การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติ

4.1  การวิเคราะห์หาคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติ
      จากการนำชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการฝึกปฏิบัติให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ประเมินคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล  มาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติ ซึ่งผลที่ได้แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้  - ด้านการออกแบบชุดฝึกปฏิบัติ
 - ด้านการออกแบบ
 - ด้านการสร้างชุดฝึกปฏิบัติชุดฝึกปฏิบัติ
 - ด้านการใช้งานชุดฝึกปฏิบัติ
 - ด้านคู่มือการใช้งานชุดฝึกปฏิบัติ
 - ด้านเอกสารประกอบชุดฝึกปฏิบัติ
      4.1.1  ผลวิเคราะห์ด้านการออกแบบชุดฝึกปฏิบัติ
ผลการวิเคราะห์คุณภาพชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพี ทางด้านการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏผลดังภาพที่ 4-1

                                                       

                                              ภาพที่ 4 -1  แสดงผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น ด้านการออกแบบ
     ผลการประเมินด้านการออกแบบ มีผลการประเมิน ดังนี้
    1.  ชุดฝึกปฏิบัติมีขนาดและน้ำหนักเหมาะสม ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    2.  การจัดวางตำแหน่งต่างๆ ของอุปกรณ์ในชุดฝึกปฏิบัติมีความเหมาะสม ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    3.  ชุดฝึกปฏิบัติมีความแข็งแรงทนทาน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    4.  วัสดุที่ใช้ผลิตชุดฝึกปฏิบัติสามารถหาได้ง่ายภายในประเทศ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ    ดีมาก
    5.  การสร้างชุดฝึกปฏิบัติคุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก
    6.  ชุดฝึกปฏิบัติก่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนการสอน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    7.  การเลือกวัสดุที่ใช้ทำชุดฝึกปฏิบัติมีความเหมาะสม ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    8.  ชุดฝึกปฏิบัติสามารถทำการฝึกปฏิบัติได้ครอบคลุมทั้ง 4 วัตถุประสงค์ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก
    9.  ชุดฝึกปฏิบัติมีความปลอดภัยในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
   10. ชุดฝึกปฏิบัติมีความสะดวกต่อการฝึกปฏิบัติ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
   11. ชุดฝึกปฏิบัติมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษา ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
   12. ชุดฝึกปฏิบัติง่ายต่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษา ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
   13. ค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น ด้านการออกแบบ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
        จากภาพที่ 4-1  แสดงผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพี ด้านการออกแบบ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกปฏิบัติ ด้านการออกแบบมีคุณภาพซึ่งมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.17  ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5 (ระดับดี) ที่กำหนดไว้
      4.1.2  ผลการวิเคราะห์ด้านการสร้างชุดฝึกปฏิบัติ
ผลการวิเคราะห์คุณภาพชุดฝึกปฏิบัติ ทางด้านการสร้างชุดฝึกปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏผลดังภาพที่ 4-2

                                              กล่องข้อความ: ระดับคะแนนเฉลี่ย 
                                                 ภาพที่ 4-2  แสดงผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น ด้านการสร้างชุดฝึกปฏิบัต

      ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพในการประลอง มีผลการประเมิน ดังนี้
     1.  ชุดฝึกปฏิบัติสามารถนำไปทดลองได้จริง  ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก
     2.  การฝึกปฏิบัติสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
     3.  ผลการฝึกปฏิบัติสอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎี ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก
     4.  กระตุ้นความสนใจก่อให้เกิดแรงจูงใจในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
     5.  ชุดฝึกปฏิบัติเป็นประโยชน์สำหรับวิชางานซ่อมเครื่องยนต์หรือวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
     6.  ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติไม่ยุ่งยาก ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
     7.  เสียงรบกวนที่เกิดจากชุดฝึกปฏิบัติทำงานมีน้อย ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
     8.  มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเชื้อเพลิงในระบบได้ชัดเจน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
     9.  ค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น ด้านประสิทธิภาพในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
         จากภาพที่ 4-2  แสดงผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี ด้านประสิทธิภาพในการฝึกปฏิบัติพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี      ด้านประสิทธิภาพในการประลอง  มีคุณภาพ ซึ่งมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.32  ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5 (ระดับดี) ที่กำหนดไว้
     4.1.3  ผลการวิเคราะห์ด้านเอกสารประกอบการฝึก
                                                      

        ผลการวิเคราะห์คุณภาพชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี ทางด้านเอกสารประกอบการฝึกปฏิบัติ โดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏผลดังภาพที่ 4-3
      ผลการประเมินด้านเอกสารประกอบการประลอง มีผลการประเมิน ดังนี้
    1.  เนื้อหาทฤษฎีครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    2.  ขั้นตอนการประลองกับรูปภาพมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    3.  อธิบายลำดับขั้นตอนการประลองได้อย่างชัดเจน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    4.  บันทึกค่าที่ได้จากการประลองได้สะดวก ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก
    5.  การจัดรูปแบบของใบประลองมีความชัดเจนเหมาะสม ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
    6.  คำถามในแบบทดสอบท้ายการประลองอ่านเข้าใจง่ายอธิบายชัดเจน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่  ในระดับ ดี
    7.  คำเฉลยในแบบทดสอบท้ายการประลองเฉลยคำตอบได้ชัดเจน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่        ในระดับ ดี
    8.  ค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพชุดประลองที่สร้างขึ้น ด้านเอกสารประกอบการประลอง ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี
        จากภาพที่ 4-3  แสดงผลการประเมินคุณภาพชุดประลองระบบทำความเย็นและปรับอากาศรถยนต์ด้านเอกสารประกอบการประลอง พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อชุดประลองระบบ   ทำความเย็นและปรับอากาศรถยนต์  ด้านเอกสารประกอบการประลอง  มีคุณภาพ ซึ่งมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.21  ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5 (ระดับดี) ที่กำหนดไว้
        4.1.4  ผลการวิเคราะห์คุณภาพชุดประลองระบบทำความเย็นและปรับอากาศรถยนต์ทั้ง 3 ด้าน
ผลการวิเคราะห์คุณภาพชุดประลองระบบทำความเย็นและปรับอากาศรถยนต์ โดยผู้เชี่ยวชาญ  ทั้ง 3  ด้าน  คือ ด้านการออกแบบ    ด้านประสิทธิภาพในการประลอง และด้านเอกสารประกอบ       การประลอง ปรากฏผลดังภาพที่ 4-4
                                      กล่องข้อความ: ระดับคะแนนเฉลี่ย          

                                                       ภาพที่ 4-4  แสดงผลการประเมินคุณภาพชุดประลองที่สร้างขึ้นทั้ง 3 ด้าน

          จากภาพที่ 4-4  แสดงผลการประเมินคุณภาพชุดประลองระบบทำความเย็นและปรับอากาศ รถยนต์ทั้ง 3 ด้าน สรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 11 ท่าน  มีความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชุดประลองระบบทำความเย็นและปรับอากาศรถยนต์ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการออกแบบ   ด้านประสิทธิภาพใน         การประลอง และด้านเอกสารประกอบการประลอง มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.22  ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5  ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้น ชุดประลองระบบทำความเย็นและปรับอากาศ  รถยนต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจึงมีคุณภาพสามารถนำไปใช้งานจริงได้ (รายละเอียด  ดังตารางที่ ก-1 หน้า 63)

4.2  การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดประลอง
        จากการนำชุดประลองระบบทำความเย็นและปรับอากาศไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดประลอง  ซึ่งปรากฏผลดังตารางที่ 4-1 ดังนี้

ตารางที่ 4-1  แสดงผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดประลอง

รายการ

จำนวนผู้เรียน

คะแนนเต็ม

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

คะแนนจากการทำแบบทดสอบท้ายการประลอง

15

62

753.5

50.23

81.02

คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน

15

40

493

32.87

82.17

           จากตารางที่ 4-1  แสดงให้เห็นว่า  ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้ชุดประลองที่      ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 15 คน  ทำแบบทดสอบท้ายการประลองได้ถูกต้อง  คิดค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ  81.02  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80  ตัวแรกที่ตั้งไว้  และทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน  ได้ถูกต้อง คิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ 82.17  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80  ตัวหลังที่ตั้งไว้         (รายละเอียด  ดังตารางที่ ค-1 หน้า 72)

 

กลับหน้าแรก    1  2   3   5   6   7

Free Web Hosting