บทที่  3
วิธีการดำเนินการศึกษา

       การศึกษาเรื่องการสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี ซึ่งผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับ ตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้
      3.1  ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
      3.2  สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
      3.3  กำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
      3.4  ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
      3.5  วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
3.1  การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
      ในการศึกษาเรื่อง การสร้างชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจีผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการสร้างชุดฝึกปฏิบัติ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
      3.1.1  ศึกษาขอบเขต เนื้อหาเกี่ยวกับหลักการทำงานและอุปกรณ์ในระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์  เนื้อหาวิชาและใบงานที่จะสร้างขึ้น
      3.1.2  ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสร้างสื่อการเรียนการสอน  เพื่อทราบขั้นตอนในการออกแบบและสร้างชุดฝึกปฏิบัติ ประโยชน์ของชุดฝึกปฏิบัติทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการออกแบบและสร้างชุดฝึกปฏิบัติ และการวิเคราะห์ผลการวิจัย จากเอกสาร  ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น
      3.1.3  ศึกษาถึงรายละเอียดของสื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เช่น ชุดสาธิต หรือ ชุดการสอนฯลฯที่เกี่ยวกับระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี
จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นผู้ศึกษาจึงมีแนวทางที่จะสร้างชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจีโดยใช้อุปกรณ์หลัก
ของระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจีมาประกอบเข้ากับเครื่องยนต์ขึ้นเป็นชุดฝึกปฏิบัติหลังจากนั้นจึงนำชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ไปหาคุณภาพ
และประสิทธิภาพต่อไป
3.2  การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
      เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ทำการศึกษาได้แบ่งเครื่องมือออกเป็น 4 ส่วนคือ ชุดฝึกปฏิบัติ แบบประเมินคุณภาพของชุดฝึก   แบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติแต่ละชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนโดยมีรายละเอียดและขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ ดังนี้
      3.2.1 ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจีชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี เป็น
ชุดฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เรียนเพื่อใช้ในกระบวนการเรียนการสอนในวิชางานซ่อมเครื่องยนต์ หรือรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี  โดยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้
           3.2.1.1  การออกแบบชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี เป็นการออกแบบโดยกำหนดลักษณะต่างๆ ที่ต้องการตามข้อมูลที่ได้ศึกษาในเบื้องต้น ให้สามารถฝึกปฏิบัติสิ่งต่างๆ ได้ดังนี้
                      ก)  สาธิตเห็นการทำงานของระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี
                     ข)  การปรับแต่งเครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                     ค)  การถอดและประกอบชุดหม้อต้ม
                     ง)  การถอดและประกอบโซลินอยล์
โดยชุดฝึกปฏิบัติดังกล่าว ได้ออกแบบส่วนต่างๆ ได้แก่โครงแท่นเครื่องของชุดฝึกกระดานติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่เรือนไมล์เครื่องยนต์   กล่องอิเล็กทรอนิคส์ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ และ อุปกรณ์ที่แสดงถึงสถานะความดัน และสูญญากาศถังน้ำมัน เป็นต้น
           3.2.1.2  ตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตัดสินใจในการเลือกกำหนดรูปแบบชุดฝึกและเพื่อรับคำแนะนำรวมถึงความเป็นไปได้ในการสร้าง
พร้อมทั้งหาข้อบกพร่องในการออกแบบ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
           3.2.1.3  สร้างชุดฝึกปฏิบัติโดยคำนึงถึงประเภทของวัสดุและอุปกรณ์ ที่จะนำมาสร้างมีความสะดวกในการถอดประกอบและการเคลื่อนย้าย  รวมถึงความปลอดภัยในการใช้งาน
           3.2.1.4  ตรวจสอบโดยการทดลองใช้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในขอบเขตของการวิจัย เพื่อพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย พร้อมทั้งข้อบกพร่องต่างๆ ของชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้นเพื่อนำไป  ปรับปรุงแก้ไข
           3.2.1.5  ได้ชุดฝึกปฏิบัติที่สมบูรณ์พร้อมนำไปใช้ในการวิจัย
     3.2.2  แบบประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี
         3.2.2.1  สร้างแบบประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้
                     ก)  ด้านการออกแบบ
                     ข)  ด้านการสร้าง
                     ค)  ด้านการใช้งาน
                     ง)  ด้านเอกสารประกอบชุดฝึก
                     จ)  ด้านคู่มือการใช้งาน
         3.2.2.2 ตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย ข้อบกพร่องต่างๆของแบบประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติเพื่อนำไปปรับปรุง
ต่อไป
         3.2.2.3  ได้แบบประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติที่พร้อมสำหรับให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน
     3.2.3  การสร้างแบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติแต่ละชุด
         3.2.3.1  ศึกษาข้อมูลที่ใช้จัดทำแบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติจากรายละเอียดของใบงาน
         3.2.3.2  สร้างแบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติ
         3.2.3.3 ตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียข้อบกพร่องต่างๆของ   แบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติเพื่อนำไปปรับปรุง
ต่อไป
         3.2.3.4  ได้แบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติที่พร้อมสำหรับทดสอบกับผู้เรียน
     3.2.4  การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนที่สร้างขึ้น
         3.2.4.1  ศึกษาข้อมูลที่ใช้จัดทำแบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ของชุดฝึกปฏิบัติจากรายละเอียดของใบงาน
         3.2.4.2  สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
         3.2.4.3 ตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียข้อบกพร่องต่างๆเพื่อปรับปรุงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
ให้สมบูรณ์
         3.2.4.4  ได้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนที่พร้อมสำหรับทดสอบกับผู้เรียน
3.3  การกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
      ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับการหาคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติและกลุ่มตัวอย่างของผู้เรียน สำหรับการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
      3.3.1  การกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับการหาคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติ
         3.3.1.1  การกำหนดคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติต้องเคยผ่านการสอนวิชางานซ่อมเครื่องยนต์ หรือวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานซ่อมเครื่องยนต์  หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนงานช่างอุตสาหกรรม มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี วุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโท และหรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์สอนไม่น้อยกว่า 10 ปี
        3.3.1.2  พิจารณาคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญสำหรับการหาคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติโดยผู้ศึกษาเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน
        3.3.1.3  ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการคัดเลือกคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน ซึ่งจะได้ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถประเมินคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติ ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
        3.3.1.4 ขออนุมัติแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกลคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ซึ่งจะได้ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมประเมินชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี
    3.3.2  การกำหนดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติ
        3.3.2.1   การกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างต้องเป็นผู้เรียนที่มี    พื้นฐานความรู้วิชาระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิคส์มาก่อน
        3.3.2.2  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยเป็นผู้เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคพะเยา   สาขางานเทคนิคยานยนต์ จำนวน 40 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
        3.3.2.3  ตรวจสอบคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างโดยอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้ได้กลุ่ม       ตัวอย่างที่ถูกต้องในการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติ
        3.3.2.4  ได้กลุ่มตัวอย่างที่พร้อมใช้ในการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติ
3.4  การดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
       การดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 กลุ่มได้แก่  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำการประเมินคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติและเอกสารประกอบการฝึกปฏิบัติ  และกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ชุดฝึกปฏิบัติเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้นโดยมีรายละเอียด ดังนี้
      3.4.1  การดำเนินการทดลองและ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติ
         3.4.1.1  เชิญผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับอนุมัติแต่งตั้งจากภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อทำการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติ
         3.4.1.2  ดำเนินการสาธิตการใช้และการทำงานของชุดฝึกปฏิบัติ ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน
         3.4.1.3  ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้แบบประเมินคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น
         3.4.1.4  เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
      3.4.2  การดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลแบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติในแต่ละการฝึกปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังภาพภาพที่ 3-8
         3.4.2.1  จัดกลุ่มผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนศึกษาและทำการฝึกปฏิบัติในแต่ละครั้ง
         3.4.2.2  ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติ
         3.4.2.3  เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
      3.4.3  การดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
         3.4.3.1  กำหนดเวลา และสถานที่สอบให้ผู้เรียนทราบ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เตรียมพร้อมและทบทวนความรู้ที่ได้ทดลองกับชุดฝึกปฏิบัติก่อนเข้าทำการทดสอบ
         3.4.3.2  จัดกลุ่มผู้เรียนที่ทดลองครบทุกการฝึกปฏิบัติเข้าทดสอบ พร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดและวิธีการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
         3.4.3.3  ผู้เรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภายในเวลาที่กำหนด
         3.4.3.4  เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
3.5  การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
       การศึกษาเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงแอลพีจี ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาหลักสถิติต่างๆ  เพื่อใช้ประกอบในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ  ดังนี้  
      3.5.1  การหาค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ(ล้วนและอังคณา,2538: 73)
      3.5.2  การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น (เสาวณีย์, 2528: 284)
                * เกณฑ์  E1 / E2 กำหนดไว้  80/80

 

กลับหน้าแรก   1   2   4   5   6   7

Free Web Hosting